213 จำนวนผู้เข้าชม |
หลายคนมีข้อสงสัย เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วบางราย ยังรู้สึกมีอาการหลงเหลือต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งกลุ่มที่มีอาการอาจจะมีอาการตั้แต่ 1 เดือน หรือมากกว่า 4-6 สัปดาห์ จะเป็นอาการที่เรียกว่า Post Covid Syndrome หรือ Long COVID คือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19
Long COVID คืออะไร
Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เนื่องจากในขณะที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมา และไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ อาการ Long COVID
เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งผลกระทบของ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท,ระบบทางเดินอาหาร,หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว
กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพบอาการ Long COVID
ผู้สูงอายุ
ผู้ทีมีภาวะอ้วน
ผู้ที่มีโรคประจำตัว
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
ผู้มีในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ
แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ก็สามารถมีโอกาสที่จะเกิดอาการ Long COVID ได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ได้จากการรับวัคซีน
อาการ Long Covid หรือผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นได้ มีอะไรบ้าง
ปวดหัว มึนงง ไม่สดชื่น
ความจำสั้น สมาธิสั้น
แสบตา คันตา น้ำตาไหล
คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น
การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย
มีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน
ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก
มีไข้
ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
ปวดข้อ กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีภาวะสมองล้า
นอนไม่หลับ
ความดันโลหิตสูง
วิตกกังวล ซึมเศร้า
และในผู้หญิง พบว่ามีอาการประจำเดือนผิดปกติ
10 อาการ ที่พบมากที่สุดใน Long COVID คือ
1) เหนื่อยล้า,
2) หายใจไม่อิ่ม,
3) ปวดกล้ามเนื้อ,
4) ไอ,
5) ปวดหัว,
6) เจ็บข้อต่อ,
7) เจ็บหน้าอก,
8) การรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป,
9) อาการท้องร่วง
และ 10) การรับรสเปลี่ยนไป
ภาวะแทรกซ้อนของโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นได้
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
ไตวายเฉียบพลัน
ตับอักเสบเฉียบพลัน
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ผลข้างเคียงจากการรักษาโควิด-19
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ภาวะเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)
โดยแพทย์จะพิจารณาอาการต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น
1. อาการที่เกิดขึ้น เกิดจากการนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน เช่น อาการจิตตก ซึมเศร้า ติดเตียง แผลกดทับ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ
2. อาการเกิดจากผลแทรกซ้อนที่ได้รับจากยาขณะเข้ารับการรักษาโควิด-19 ส่วนใหญ่ยารักษาโรคโควิด-19 มักจะไม่พบผลแทรกซ้อนในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับยาในระยะสั้น ๆ แต่อาจสามารถพบได้กับยาที่รักษาอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างรักษาโควิด-19 เช่น ยากลุ่ม สเตียรอยด์ อาการที่อาจพบได้หลังกลับบ้าน เช่น แสบกระเพาะ รู้สึกเหมือนมีอาการกรดไหลย้อน ค่าน้ำตาลไม่คงที่ หรือมีอาการทางเบาหวาน
3. อาการที่เกิดจากผลแทรกซ้อนของโควิด-19 อาจเกิดขึ้นได้ในระยะ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง แบ่งออกเป็น
กลุ่มที่มีอาการต่อเนื่อง มาตรวจและไม่พบความผิดปกติ เช่น หอบเหนื่อย เพลีย รู้สึกเหมือนร่างกายยังไม่ฟื้น การรักษา จะรักษาตามอาการ รอจนร่างกายปรับและฟื้นตัว
กลุ่มที่มีอาการต่อเนื่อง มาตรวจและพบความผิดปกติ เช่น พบผังผืดที่ปอด หรือพบความผิดปกติที่ปอด เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน พบความผิดเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ภาวะติดเชื้อ เกิดการอักเสบภายในอวัยวะสำคัญ ซึ่งพบได้น้อย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ การรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
กลุ่มที่ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบอาการผิดปกติที่ปอด การรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (SARS-CoV-2) และป้องกันการพัฒนาไปสู่ภาวะอาการ Long COVID คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งเรารู้ดีว่า วัคซีนต้านโควิด-19 ช่วยลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยการสวมหน้ากาก, เว้นระยะห่างทางกายภาพ ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่ที่แออัด หรือแหล่งชุมชน
ดูแลร่างกายให้พร้อม เพื่อสุขภาพที่ดี
ที่มา : https://vichaivej-nongkhaem.com/health-info/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94/